Product Description
ยาระบายจากสมุนไพร
ที่ใช้ได้ผลดีมานานส่วนใหญ่ได้มาจาก มะขามแขก โกฎน้ำเต้า ยาดำ ฯลฯ ซึ่งสารออกฤทธิ์ในสมุนไพรดังกล่าวเรียกว่าสารกลุ่ม แอนทราควิโนน (Anthraquinones) โดยสามารถออกฤทธิ์กระตุ้นลำใส้ใหญ่ให้เคลื่อนที่มากขึ้น ดูดกลับน้ำเข้าสู่ร่างกายน้อยลง ทำให้เกิดการขับถ่ายอุจจาระออกมากได้ง่ายขึ้น จัดเป็นยาระบายกลุ่มที่กระตุ้นการบีบของลำไส้ (Stimulant laxative)
สารออกฤทธิ์กลุ่มแอนทราควิโนน มีหลายชนิด เช่น เซนโนไซด์ เอ และ บี (Sennoside A, B) ที่พบมากในมะขามแขก เรอิน (Rhein) พบได้ในโกฐน้ำเต้า และ บาร์บาโลอิน (Barbaloin) ในยาดำ การใช้ยาระบายที่มีแอนทราควิโนนเป็นสารออกฤทธิ์อาจเกิดจากการใช้สมุนไพรตัวใดตัวหนึ่งหรือสมุนไพรผสม เพื่อให้ได้สารออกฤทธิ์หลากหลายและลดภาวะผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการใช้สารออกฤทธิ์ชนิดเดียวในปริมาณสูงหรือเป็นระยะเวลานาน โดยทั่วไป ปริมาณของแอนทราควิโนนรวมที่ควรได้รับต่อวันอยู่ที่ 20-30มิลลิกรัม และไม่เกิน 50 มิลลิกรัม นอกจากสารกลุ่มแอนทราควิโนนแล้ว ยังมีสารกลุ่มอื่นที่ออกฤทธิ์ช่วยระบายได้เช่นกัน คือ แมกนิเซียม ซัลเฟต (Magnesium sulphate) โดยกลไกการดึงน้ำเข้าหาตัว ทำให้อุจจาระนิ่ม สามารถขับถ่ายได้ง่าย เรียกยาระบายกลุ่มนี้ว่า ออสโมติค (Osmotic Laxative)
Figure 1: Anthraquinones.
สูตรยาที่ประกอบด้วยสมุนไพร มะขามแขก โกฎน้ำเต้า ยาดำ ผิวมะกรูด และดีเกลือ (Magnesium sulphate)
เป็นการผสมผสานสมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการช่วยระบายโดยไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงเรื่องการไซ้ท้อง คลื่นไส้อาเจียน จากการใช้แม้จำเป็นต้องใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เนื่องจากมีปริมาณของสารกลุ่มแอนทราควิโนนรวมไม่สูงเกินไป แต่ใช้ฤทธิ์ของดีเกลือในการช่วยระบายด้วยกลไกการอุ้มน้ำ นอกจากนั้นยังมีส่วนประกอบของผิวมะกรูด ซึ่งสามารถช่วยขับลม ทำให้เกิดการระบายที่มีประสิทธิผล ทำให้สบายท้อง
การตรวจสอบสารกลุ่มแอนทราควิโนนรวมในยาระบายพบว่า ในเม็ดยา 1เม็ด มีสารแอนทราควิโนนรวมเท่ากับ 2.7% โดยน้ำหนัก (คำนวนจากปริมาณ Sennoside B และ Rhein) ดังนั้นในยา 1 เม็ดจึงมีปริมาณแอนทราควิโนนรวมเท่ากับ 8.1 มิลลิกรัม เมื่อรับประทานยาในขนาด 2 – 4เม็ดต่อวัน (ตามที่ระบุในฉลาก) จะได้รับปริมาณสารแอนทราควิโนนรวมเท่ากับ 16.2 – 32.4 มิลลิกรัมซึ่งอยู่ในช่วงของปริมาณที่ควรได้รับจากข้อกำหนดของเภสัชตำรับ และไม่เกินจากปริมาณสูงสุดที่ทำให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรง รวมทั้งยังอยู่ในปริมาณที่ไม่สูงเกินไป เนื่องจากการออกฤทธิ์โดยรวมอาศัยการอุ้มน้ำของดีเกลือร่วมด้วย ทำให้เป็นส่วนผสมของสมุนไพรที่กลมกล่อมและมีประสิทธิผลดีเหมาะสำหรับใช้แก้ปัญหาท้องผูกทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยไม่ก่อให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน
เอกสารอ้างอิง
-
- The American Materia Medica, Therapeutics and Pharmacognosy, 1919, was written by FinleyEllingwood, M.D.
- de Witte P, Metabolism and pharmacokinetics of antrhanoids, Pharmacology 1993; 47 (Supplement 1): 86-97.
- Blumenthal M (senior editor), Herbal Medicine: Expanded Commission E Monographs, 2000 American Botanical Council, Austin, TX.
- Tang W and Eisenbrand G, Chinese Drugs of Plant Origin, 1992 Springer-Verlag, Berlin.
Reviews
There are no reviews yet.